วิธีการคำนวณภาษี ของนำเข้า

ภาษีนำเข้า

Categories :

ปัจจุบันเทรนด์ในการเปิดขายสินค้านำเข้าแบบพรีออเดอร์กำลังเป็นที่นิยม เพราะสินค้าบางอย่างหาไม่ได้ในบ้านเราจริงๆ หรือหาก หาได้ก็มักจะมีราคาที่สูงกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศโดยตรง แต่หากต้องการจะซื้อสินค้าจากต่างประเทศโดยตรง นอกจากราคาของสินค้า และค่าใช้จ่ายในการขนส่งแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า ภาษีการนำเข้า หรือภาษีศุลกากร นั่นเอง ซึ่งภาษีตัวนี้นั้น แต่ละคนอาจจะได้จ่ายไม่เท่ากัน นั่นเป็น เพราะวิธีการคำนวณภาษีของนำเข้านั้น ต้องพิจารณาจากปัจจัย หลายอย่าง และมีวิธีการคำนวณ โดยสามารถอธิบายได้ดังนี้

ก่อนคำนวณภาษี ต้องรู้จัก CIF
CIF คือ ส่วนที่เราจะนำมาใช้ในการคำนวณภาษีนำเข้าทั้งหมด ร่วมกับอากรขาเข้า ของสินค้าแต่ละชนิด เพื่อให้ได้เป็นตัวเลขของภาษีขาเข้าที่จะต้องจ่ายตามจริง ซึ่ง CIF เป็นตัวเลขที่มีความหมาย ดังนี้

C (Cost) เป็นตัวที่เลขที่บอกมูลค่าของสินค้า หรือพูดง่ายๆ ก็ราคาของสินค้าทั้งหมดนั่นเอง

I (Insurance) เป็นตัวเลขที่บอกมูลค่า ของค่าประกัน ซึ่งค่าประกันนี้มี 2 แบบ ก็คือ ค่าประกันที่ผู้นำเข้าสินค้าได้ไปทำประกันเอาไว้กับบริษัทประกันภัย ตัวนี้เมื่อจ่ายไปแล้ว สามารถเครมกับบริษัทประกันได้ และอีกรูปแบบหนึ่ง คือ ไม่ได้มีการทำประกันเอาไว้ แต่ต้องคำนวณ ค่าประกันจากราคาของสินค้า โดยคิดเป็นเงิน 1% จากราคาของสินค้า ซึ่งอย่างหลัง คือ เสียแล้วเสียเลย ไม่สามารถที่จะเรียกคืนได้

F (Freight) หรือ ค่าขนส่งนั่นเอง ตัวนี้สามารถหาได้จากเอกสารการขนส่งสินค้า ของบริษัทขนส่งได้เลย

และนอกจากตัวเลขเหล่านั้นแล้ว อีกหนึ่งตัวเลขที่สำคัญ ก็คือ อัตราอากรขาเข้า ที่จะมีความแตกต่างกันตามแต่ประเภทของสินค้า ซึ่งสามารถที่จะทำการค้นหาล่วงหน้าได้จากเว็บไซต์ ของกรมศุลกากร

วิธีคำนวณภาษีสินค้านำเข้า
เมื่อได้ตัวเลขที่สำคัญ ในทุกส่วนแล้ว เรามาเริ่มการคำนวณภาษีสินค้านำเข้ากันเลยจะดีกว่า

ขั้นตอนที่ หาค่าอากรขาเข้า
โดยการนำเอา มูลค่ารวม CIF X อัตราอากรขาเข้า = อากรขาเข้าสุทธิที่ต้องจ่าย

ขั้นที่ 2 หาภาษีมูลค่าเพิ่ม
(มูลค่ารวม CIF + อากรขาเข้า) อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ปัจจุบันคือ 7%ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ขั้นที่ หามูลค่าภาษีสินค้านำเข้า
โดยใช้ อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม มูลค่ารวมของภาษีที่ต้องชำระ

และถึงแม้ว่าในบางกรณีจะมีการกำหนดให้สินค้าบางอย่างไม่ต้องจ่าย อากรขาเข้า ก็ใช่ว่าจะงดทั้งหมด เพราะสุดท้ายแล้วผู้นำเข้าสินค้าก็ยังคงต้องจ่าย ในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มของสินค้าอยู่ดี

สำหรับคนที่ไม่ต้องการให้เกิดความยุ่งยากในการนำเอาสินค้าออกจากท่าเรือ หรือสนามบิน ควรเตรียมเอกสารเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้า ให้เรียบร้อย เพื่อที่เวลาคำนวณภาษีสินค้านำเข้าจะได้ทำอย่างรวดเร็ว และถูกต้องลดปัญหาความล่าช้าในการได้รับสินค้า และจัดส่งถึงมือลูกค้า